อำนาจหน้าที่ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตรัง

            สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตรัง เป็นส่วนราชการบริหารส่วนภูมิภาค  ซึ่งเป็นตัวแทนของกระทรวงสาธารณสุขในระดับจังหวัด โดยมีนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด
เป็นผู้แทนปลัดกระทรวงสาธารณสุข ทำหน้าที่หัวหน้าส่วนราชการ ตามมาตรา 55 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 มีอำนาจบังคับบัญชาข้าราชการบริหารส่วนภุมิภาคในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข โดยขึ้นตรงต่อผู้ว่าราชการจังหวัดและ
มีอำนาจหน้าที่ดังนี้

*******************************


หน้าที่และความรับผิดชอบของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด
ภารกิจหลัก        
            1. งานวางแผนและพัฒนางานสาธารณสุข
1.1 เป็นศูนย์กลางของการกำหนดนโยบายท้องถิ่น และการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดด้านสาธารณสุข รวมทั้งการจัดทำกรอบนโยบายการพัฒนาชนบทด้านสาธารณสุข ในระดับต่าง ๆ เพื่อ
แก้และลดปัญหาสาธารณสุขให้สอดคล้องกับนโยบายและแผนพัฒนาการสาธารณสุขของชาติ
1.2 ดำเนินการให้เป็นไปตามแผนงาน ตลอดจนประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น
ศูนย์วิชาการเขต สำนักงานเทศบาล ส่วนราชการอื่น ๆ และองค์กรเอกชน เพื่อให้บรรุลเป้าหมาย
1.3 ดำเนินงานศูนย์ข้อมูลข่าวสารสาธารณสุขจังหวัด ทำหน้าที่รวบรวม ตรวจสอบ วิเคราะห์ และ สรุปข้อมูลเกี่ยวกับสภาวะสุขภาพ ปัญหาสาธารณสุขประจำปี เพื่อประโยชน์ในการปรับปรุงการดำเนินงานสาธารณสุขของจังหวัด
1.4 ดำเนินงานทางระบาดวิทยา ได้แก่ เฝ้าระวังโรค การสอบสวนโรค การศึกษาการพัฒนาวิชาการ และการนิเทศติดตามประเมินผลทางระบาดวิทยา
1.5 จัดระบบนิเทศ/ติดตาม กำกับงาน และประเมินผลการปฎิบัติงานของหน่วยงานสาธารณสุขทุกหน่วยงานที่สังกัด ตลอดจนการแก้ปัญหาข้อขัดข้องให้สามารถดำเนินงานได้ตามเป้าหมาย และวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ
1.6 วางแผนจัดบริการให้การสงเคราะห์แก่ประชาชนผู้มีรายได้น้อย ผู้ที่สังคมควรช่วยเหลือเกื้อกูลอื่น ๆ ได้แก่ ผู้สูงอายุ ผู้พิการ และเด็ก 0-5 ปี การจัดบริการด้านสุขภาพภายใต้พระราชบัญญัติประกันสังคม และโครงการบัตรประกันสุขภาพ รวมทั้งวางแผนจัดบริการสาธารณสุขในภาวะฉุกเฉิน เพื่อรองรับภัยพิบัติและอุบัติเหตุต่าง ๆ
1.7 วางแผนเพื่อรองรับปัญหาสาธารณสุขที่เปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ   เช่น งานอาชีวอนามัย งานพัฒนาคุณภาพผู้ใช้แรงงาน งานอนามัยสิ่งแวดล้อม และงานสาธารณสุขในเขตเมืองฯ
2. ส่งเสริมสนับสนุน ควบคุม กำกับ และประสานกิจกรรมการสาธารณสุขของจังหวัด   ทั้งในด้านส่งเสริมสุขภาพ การควบคุมและการป้องกันโรค การรักษาพยาบาลและการฟื้นฟูสภาพ  เพื่อให้การบริการสาธารณสุขจังหวัดนั้น ๆ เป็นไปตามนโยบายและวัตถุประสงค์ของกระทรวงสาธารณสุขและจังหวัด
3. เป็นศูนย์กลางการประสานงานระหว่างหน่วยงานสาธารณสุขและหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องภายในจังหวัดทั้งภาครัฐและเอกชน
หน้าที่และความรับผิดชอบของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด

            4. งานด้านวิชาการ
4.1 ดำเนินการและสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาด้านวิชาการสาธารณสุขภายในจังหวัดอย่างต่อเนื่องทั้งด้านส่งเสริมสุขภาพ การควบคุมป้องกันโรค การรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสภาพ
4.2 ดำเนินการและสนับสนุนให้เกิดการศึกษาวิจัย ได้แก่ การรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลและทางเลือกในการแก้ไขปัญหาสาธารณสุข รวมทั้งการจัดบริการสาธารณสุขในจังหวัด การยกระดับความสามารถในการค้นคว้าวิจัย และการนำความรู้จากการวิจัยไปใช้ประโยชน์ภายในจังหวัด ตลอดจนสนับสนุนการวิจัยระบบสาธารณสุข โดยมีหลักการให้เจ้าหน้าที่ทุกระดับมีส่วนร่วมในการวิจัย
4.3 ประสานงานเพื่อให้เกิดการพัฒนาด้านวิชาการสาธารณสุข ร่วมกันระหว่างหน่วยงานสาธารณสุขและระหว่างหน่วยงานอื่นในจังหวั้ด
       5. งานสนับสนุนบริการ
5.1 พัฒนาระบบบริการสาธารณสุขในส่วนภูมิภาคทุกระดับ ให้สถานบริการสาธารณสุขมีขีดความสามารถในการให้บริการที่ได้มาตรฐาน และมีคุณภาพตลอดจนมีการประสานงานกับสถานบริการ
ระดับเขต
5.2 ดำเนินการจัดสรรและกำกับดูแลการใช้ทรัพยากร ได้แก่ เวชภัณฑ์ พัสดุ ครุภัณฑ์ สิ่งก่อสร้ง ให้แก่หน่วยงานสาธารณสุขต่าง ๆ ในความรับผิดชอบ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและมีประสิทธิภาพสูงสุด
5.3 จัดหาและสนับสนุนบุคลากรทางการแพทย์ และสาธารณสุขแก่สถานบริการสาธารณสุขระดับต่าง ๆ ตามความจำเป็นและลำดับความสำคัญที่สอดคล้องกับนโยบายกระทรวงสาธารณสุข
5.4 วางแผนการจัดตั้ง และขยายสถานบริการประเภทต่าง ๆ ภายในจังหวัด โดยประสานกับหน่วยงานส่วนกลางและประชาชนในท้องถิ่น ในการเตรียมสถานที่ก่อสร้างและการวางผังออกแบบแปลน
5.5 สนับสนุนระบบรับส่งต่อผู้ป่วย เพื่อการรักษาพยาบาลรวมทั้งการจัดบริการสาธารณสุขทางวิทยุ และเครื่องมือสื่อสารต่าง ๆ
5.6 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขในลักษณะประสานงานร่วมกันหน่วยงานสาธารณสุข และหน่วยงานอื่น ๆ ภายในจังหวัด เช่น การจัดบริการสาธารณสุขของสำนักงานเทศบาล และมูลนิธิ พอ.สว. ฯลฯ
6.การดำเนินการตามกฎหมายที่เป็นอำนาจหน้าที่ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด

หน้าที่และความรับผิดชอบของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด

ภารกิจรอง
       1. งานพัฒนาบุคลากร
1.1 การวางแผนพัฒนาบุคลากรสาธารณสุขและเจ้าหน้าที่อื่น ๆ ในสังกัด ให้มีความรู้ ความสามารถทางวิชาการ ในการพัฒนาสาธารณสุขด้านต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพและต่อเนื่องควบคู่กับการพัฒนาด้านจริยธรรมและจิตสำนึกในการทำงาน โดยใช้รูปแบบการศึกษา ฝึกอบรม และการพัฒนาตนเองอย่างเป็นระบบ
1.2 ดำเนินการและสนับสนุนการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่สาธารณสุขระหว่างประจำการทั้งด้านวิชาการและด้านบริหาร การศึกษาต่อเนื่องของเจ้าหน้าที่รวมทั้งการฝึกอบรม นักศึกษาทางการแพทย์และสาธารณสุข นักศึกษาอื่นๆ และประชาชนทั่วไป
1.3 พัฒนาบุคลากรให้มีความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ โดยเฉพาะการถ่ายทอดความรู้แก่ประชาชนชนให้มีความเข้าใจในการดูแลสุขภาพและป้องกันตนเอง
2. งานจัดบริการสาธารณสุข
2.1 จัดบริการสาธารณสุขตามโครงการเฉพาะ เป็นงานควบคุมโรคเอดส์และกามโรค งานวางแผนครอบครัว งานบริการทันตสาธารณสุข งานชันสูตรสาธารณสุข งานหน่วยสาธารณสุขเคลื่อนที่ และงานบริการสาธารณสุขในเรือนจำ เป็นต้น
2.2 จัดบริการสาธารณสุขเฉพาะกิจ เช่น การจัดบริการสาธารณสุขในภาวะฉุกเฉิน การจัดหน่วยปฐมพยาบาล การจัดหน่วยสาธารณสุขเคลื่อนที่เฉพาะกิจและโครงการพิเศษอื่น ๆ
3. งานการมีส่วนร่วมของประชาชน
ประสานและร่วมมือกับประชาชน และภาคเอกชนในการพัมนาสถานบริการสาธารณสุขและสนับสนุนการแก้ปัญหาสาธารณสุขในท้องถิ่น โดยองค์กรชุมชนและประชาชน
4. งานอื่น ๆ
4.1 ให้การสนับสนุนและร่วมมือกับหน่วยราชการอื่น ๆ ตามนโยบายรัฐบาลและการพัฒนาชนบท
4.2 รับผิดชอบงานอื่นที่จังหวัดหรือกระทรวงสาธารณสุขมอบหมาย

 

หน้าที่และความรับผิดชอบของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด

ภารกิจสนับสนุน
       1. งานบริหารงานบุคคล
ดำเนินงานการบริหารงานบุคคลและการเจ้าหน้าที่ การขอกำหนดตำแหน่ง การสรรหาบุคคลในตำแหน่ง การบรรจุแต่งตั้ง โยกย้าย พิจารณาความดีความชอบ การดำเนินการตามระเบียบข้อบังคับของข้าราชการพลเรือน และ อื่น ๆ เกี่ยวข้องกับการบริหารงานบุคคล โดยให้เป็นไปตามระเบียบแบบแผนของทางราชการและให้เกิดความเป็นธรรมแก่เจ้าหน้าที่ทุกระดับ
2. งานบริหารงบประมาณ
ดำเนินการบริหารงบประมาณ โดยจัดทำคำของบประมาณ ตลอดจนจัดดำเนินการเกี่ยวกับการเงิน การบัญชี การตรวจสอบควบคุมให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณและระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และดำเนินการตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในการจัดสรรงบประมาณให้แก่หน่วยงานต่าง ๆ ในสังกัด ตลอดจนควบคุมการเบิกจ่ายให้เป็นไปตามระเบียบแบบแผนของทางราชการ ทั้งนี้รวมถึงเงินนอกงบประมาณอื่น ๆ
3. งานบริหารพัสดุ
ดำเนินการบริหารงานพัสดุให้เป็นไปตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ ระเบียบกระทรวงสาธารณสุข ว่าด้วยเงินบำรุงและระเบียบอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
       4. งานสารบรรณ

***************************************